กุ่มบก เป็นพืชสมุนไพรจำ พวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น
กุ่มบก ซึ่งนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจน ภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งใน พุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่ พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ ห่อศพนางมณพาสี ไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้ น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย
สำหรับต้นกุ่ม นั้นเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 6 – 10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลอมเทาค่อน ข้างหนาและเรียบ ชอบขึ้นตามที่ดอนและป่าผลัดใบซะส่วนใหญ่ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ หรือตอนกิ่ง ส่วนใบนั้นจะเป็นใบ ประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ปลายใบเรียวแหลม โคนสอบแคบ หรือ แหลม ลักษณะขอบใบเรียบ และมีเส้นแขนงของใบอยู่ประมาณข้างละ 4 – 5 เส้น โดยดอกจะออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ปลายยอด กลีบเลี้ยง รูปทรงรี กลีบดอกสีขาวอมเขียว แล้วเปลี่ยน เป็นสีเหลือง หรือ ชมพูอ่อนๆ พร้อมกลิ่นหอมๆ และผลมีรูปทรงกลม ผิวแข็งๆ และสาก เปลือกมีสีน้ำตาลอมแดง และ มีเมล็ดมากเป็นรูปเกือกม้าผิวเรียบ
ประโยชน์และสรรพคุณ
ใบ – ช่วยในการแก้กลากเกลื้อน แก้ตะมอย รวมทั้ง ช่วยในการขับลม และฆ่าพยาธิ ให้รสร้อน
กระพี้ – ช่วยทำให้ขี้หูแห้งหลุดออกมา ให้รสร้อน
แก่น – ช่วยแก้โรคริดสีดวงผอมเหลือง ให้รสร้อน
ราก – ช่วยแก้มานกระษัยอันเกิดแต่กองลม ให้รสร้อน
เปลือกต้น – มีประโยชน์เหมือนเปลือกกุ่มน้ำและมะรุม เป็นยา ระงับประสาท ช่วยแก้โรคผิวหนังต่างๆ รวมทั้งช่วยคุมธาตุ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง แก้อาการบวม ช่วยบำรุงไฟธาตุ ตลอดจนบำรุงหัวใจ และช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ย่อยอาหารได้ตามปกติ ให้รสร้อน
ขอบคุณแหล่งที่มา https://www.เกร็ดความรู้.net/
Leave a Reply